บวบขม สมุนไพรในตำรายาพื้นบ้าน
บวบขม หรือ Trichosanthes cucumerina L. เป็นพืชไม้เลื้อยหรือเป็นพืชเถา ลำต้นเป็นร่องมีขนขึ้นปกคลุม นอกจากนี้ยังมีมือลักษณะเป็นเส้นบางๆ ไว้คอยยึดเกาะตามต้นไม้อื่นๆ หรือตามพื้น ใบเป็นรูปทรง 5 เหลี่ยม ปลายใบจะแหลมส่วนโคนใบนั้นจะว้าเข้ามาคล้ายกับรูปหัวใจ ผิวสัมผัสของใบนั้นจะสากๆ เพราะมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม ดอกของบวบขมนั้นจะออกดอกตามซอกใบ และแยกเพศกันอย่างชัดเจน
โดยเพศผู้จะมีกลีบดอกสีขาวตรงปลายจะแยกออกจากกัน 5 แฉก ส่วนดอกเพศเมียนั้นจะเป็นสีเหลืองผลเป็นรูปทรงรี หรือทรงไข่งอเล็กน้อย ส่วนโคนและปลายจะแหลม ผิวเป็นสีเขียวขรุขระเล็กน้อย มีจุดขาวทั่วผล และยังมีลายสีเขียวเข้มตามยาว ภายในมีเมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากเรียงแถวกัน ซึ่งเมื่อเมล็ดเหล่านี้แก่จะกลายเป็นสีดำ
เรามักไม่ค่อยปลูกบวบขมไว้สำหรับรับประทานเนื่องจากว่าผลของมันนั้นมีรสชาติขมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงเมล็ดของมันอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะปลูกไว้เพื่อน้ำมาทำเป็นยาสมุนไพรเสียมากกว่า เพราะมันมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมากมายดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ
- ช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ลดไข้ รักษาร้อนใน
- ช่วยขับเสมหะ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาช่วยให้อาเจียน
- บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- ใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคหืด และ รักษาริดสีดวงจมูก
- มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อยอาหาร หากรับประทานมากจะเป็นยาระบายอย่างหนัก อีกทั้งยังช่วยขับพยาธิได้อีกด้วย
- ใช้เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี และยังช่วยฟอกเลือดอีกด้วย
- ช่วยแก้อาการถุงน้ำดีอุดตัน
- รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นบนศีรษะเช่น เป็นเหา เป็นรังแค คันหนังศีรษะ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการบริโภคบวบขมก็มีอยู่เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เนื่องจากมันเป็นสมุนไพรรสขมหากรับประทานมาจนเกินไป หรือรับประทานเป็นเวลานาจะส่งผลต่อระบบไตได้ นอกจากนี้แล้วสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด เนื่องจากมันมีฤทธิ์ในการขับประจำเดือน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแท้งลูกที่เป็นอันตรายทั้งต่อตัวแม่และตัวเด็กเอง