ปวยเล้ง สมุนไพรต้านโรค ที่คนเข้าใจผิดว่าเป็นผักโขม

 

ปวยเล้ง สมุนไพรต้านโรค ที่คนเข้าใจผิดว่าเป็นผักโขม

           ปวยเล้ง จัดเป็นหนึ่งในสมุนไพรจีน ที่มีคนนิยมนำมาทานเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งยังมีหลายคนเข้าใจผิดว่าปวยเล้งคือผักโขม แต่จริง ๆ แล้วมันคือผักคนละชนิดกัน เพียงแค่อยู่ในตระกูลเดียวกัน และผักที่ให้พลังงานแก่ป๊อบอายก็คือปวยเล้ง ไม่ใช่ผักโขมแต่อย่างใด ปวยเล้งอุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังหาทานง่าย ราคาก็ไม่แพง คนจึงนิยมนำไปดัดแปลงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย

ปวยเล้ง สมุนไพรต้านโรค ที่คนเข้าใจผิดว่าเป็นผักโขม

ลักษณะ
          ปวยเล้งเป็นพืชในวงศ์บานไม่รู้โรย โดยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลาง มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร ใบออกเรียงสลับ รูปรีถึงใบหอก มีความกว้าง 1-15 เซนติเมตร และมีความยาว 2-30 เซนติเมตร มีดอกสีเหลืองเขียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร และมีผลขนาด 5-10 มิลลิเมตร ซึ่งภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

ปวยเล้ง สมุนไพรต้านโรค ที่คนเข้าใจผิดว่าเป็นผักโขม

ประโยชน์และสรรพคุณ
        ปวยเล้งเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรจีน ที่มีทั้งธาตุเหล็กซึ่งช่วยบำรุงเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก โพแทสเซียมช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด วิตามินบี 2 ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงผิวหนัง เล็บ และผม วิตามินซีป้องกันการเป็นหวัด และกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการสร้างสารที่ให้ความสุขอย่างซีโรโทนิน ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิดง่าย อีกทั้งช่วยลดอาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา กระดูก และผิวพรรณให้แข็งแร็ง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าปวยเล้ง มีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ และสามารถป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

ผักที่ป็อบอายทาน เบาหวาน

ข้อควรระวัง
          ถึงแม้ว่าปวยเล้ง จะขึ้นชื่อว่าเป็นสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณมากมาย แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หรือโรคนิ่ว อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทานปวยเล้ง  หรือควบคุมการทานให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากปวยเล้งมีกรดออกซาลิคอยู่มากพอสมควร เมื่อรวมตัวกับแคลเซียมแล้วอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วได้ และอาจทำให้ร่ายกายดูดซึมธาตุเหล็ก และโฟเลตได้น้อยลง อีกทั้งยังมีกรดยูริกซึ่งส่งผลให้อาการของโรคเกาต์แย่ลงได้ ดังนั้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้อาจจะต้องทานในปริมาณที่พอดี หรือถ้าจะให้ดีก็ควรหลีกเลี่ยงไปเลย

 

#พันธุ์ไม้และสมุนไพร  #ซีรี่ย์ใหม่ 

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *