มอนสเตอร่าด่าง ราชินีไม้พันธุ์ด่าง ปลูกง่าย ฟอกอากาศได้ดี

 

มอนสเตอร่าด่าง ราชินีไม้พันธุ์ด่าง ปลูกง่าย ฟอกอากาศได้ดี

        มอนสเตอร่าด่าง ต้นไม้ที่ไม่เคยกระแสตกเลย เพราะยังคงเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการปลูกและมากแรงสุด ๆ ของปี 2021 เนื่องจากมอนสเตอร่าด่างเป็นไม้พันธุ์ด่างที่เป็นการกลายพันธุ์ของต้นมอนสเตอร่านั่นเอง จึงทำให้ปลูกยาก และมีราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่าเราจะปลูกกันไม่ได้ ดังนั้นในบทความนี้เราก็มีเคล็ดลับการปลูกมอนสเตอร่าด่างมาฝากคนรักต้นไม้กันด้วย

 

มอนสเตอร่าด่าง ราชินีไม้พันธุ์ด่าง ปลูกง่าย ฟอกอากาศได้ดี

 

         มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monstera deliciosa Liebm หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า พลูฉีก หรือ พลูแฉก มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกากลาง เป็นต้นไม้ในวงศ์ Araceae โดยมีลักษณะลำต้นเป็นข้อสั้น จัดอยู่ในกลุ่มไม้เลื่อย สามารถเลื้อยได้ไกล 4 เมตร มีจุดเด่นที่มีใบเดี่ยวขนาดใหญ่ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ 5 แฉก ใบหนาผิวมัน ออกดอกตามซอกใบ และมีผลสีเขียว จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลสุก โดยทั่วไปแล้วมอนสเตอร่าจะมีสีเขียวเข้ม แต่ก็มีแบบใบด่าง หรือที่เราเรียกกันว่า มอนสเตอร่าด่าง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในการปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

มอนสเตอร่าด่าง ราชินีไม้พันธุ์ด่าง ปลูกง่าย ฟอกอากาศได้ดี

 

วิธีการปลูกและดูแลมอนสเตอร่าด่าง

         สามารถทำการปลูกได้ 2 วิธี คือ แบบที่ 1 เพาะเมล็ด โดยการแช่เมล็ดเอาไว้ในน้ำประมาณ 2 วัน จากนั้นค่อยนำไปฝังกลบในดิน ส่วนแบบที่ 2 ก็คือการปักชำ โดยการกรีดปลายก้านขึ้นมาประมาณ 1-1.5 นิ้ว จากนั้นให้นำไปปักลงในดิน พร้อมด้วยไม้ค้ำด้านข้างเพื่อช่วยพยุงก้านไม่ให้หัก ดินที่เราควรใช้ในการปลูกก็คือ ดินร่วนผสมกับขุยมะพร้าว หรือกาบมะพร้าวสับ เพื่อช่วยทำให้ดินโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้และช่วยระบายน้ำได้ดี

 

 

        ส่วนวิธีการดูแลไม้พันธุ์ด่างอย่างมอนสเตอร่าด่างทำได้ โดยการนำมาปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร รดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (แต่ถ้าหากหน้าดินแห้งจนเกินไปเราก็ควรปรับวิธีการรดน้ำที่เหมาะกับหน้าดินด้วยนะ) นอกจากเราก็ควรเช็ดทำความสะอาดใบเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้เช็ดตามแนวเส้นใบ จะช่วยทำให้ใบสามารถดูดซับฝุ่นหรือสารพิษได้ดีมากขึ้น และยังช่วยทำให้ใบดูสวยงามอยู่เสมอ

 

#พันธุ์ไม้และสมุนไพร  #ซีรี่ย์ใหม่

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *