อบเชย สมุนไพกลิ่นหอม
อบเชย หรือ Cinnamomum เป็นสมุนไพรไม้ยืนต้นที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ใบมีลักษณะใบเรียวรูปทรงไข่ ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก
อบเชยมีหลายสายพันธุ์แต่พันธุ์ที่เรารู้จักและนิยมนำมาใช้ประโยชน์นั่นคือ อบเชยไทย อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา เป็นต้น
เรามักจะใช้ประโยชน์จากเปลือกของลำต้นอบเชย โดยการกรีดเปลือกชั้นกลางออกมาหลังจากนั้นก็นำมาผึ่งแดดให้แห้ง เสร็จแล้วก็นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยาหรือนำไปตกแต่งกลิ่นต่างๆ เช่น ขนม สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอาง เป็นต้น
สรรพคุณหลักๆของอบเชยนั่นคือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก มันจึงถูกจัดให้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยรักษาโรคทั้งในสมุนไพรตำหรับไทยและตำหรับจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.ใช้เป็นยาบำรุงตับ ม้าม หัวใจ ไตและ กระเพาะอาหาร เป็นต้น เรื่องจากเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน จึงทำให้รายกายและอวัยวะต่างๆ อบอุ่น
2.ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการมึน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย เรียกได้ว่าเป็นชาชูกำลังชนิดหนึ่ง
3.รักษาโรคเบาหวาน เพราะมีสารที่ช่วยทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังสามารถย่อยสลายไขมัน รวมทั้งคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลได้ดีอีกด้วย
4.ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็ง
5.ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ อาการหวัด อาการไอหอบหืด รวมทั้งช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ดี
6.รักษาอาการผิดปกติภายในช่องท้อง เช่นอาหารไม่ย่อย กรดเกิน ท้องอืด ท้องเสียและ แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
7.รักษาโรคทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้ทำงานผิดปกติ ท้องเสีย โรคบิด พยาธิ และสามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้อีกด้วย
8.ลดอาการปวดประจำเดือนของสตรี นอกจากนี้ยังช่วยขับน้ำคาวปลาและลดการเกิดไข้หลังจากคลอดบุตร
9.ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโดรคต่างๆ และห้ามเลือดจากการบาดเจ็บ
นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว อบเชยยังมีกลิ่นหอมเป็นอย่างมาก ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกลิ่นนี้กันดีในขนมเบเกอร์รี่ หรืออาหารที่ใส่เครื่องเทศเพื่อความหอม หรือใช้ลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย
ถึงอย่างไรการใช้อบเชยก็ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากรับประทานมาเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตับได้ และบุคคลที่ห้ามรับประทานอบเชยคือบุคคลที่ป่วยเป็นโรคตับ ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อน ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด อุจจาระแข็งแห้ง โรคริดสีดวงทวาร เด็กและสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานเด็ดขาด
#พันธุ์ไม้และสมุนไพร #ซีรี่ย์ใหม่ #เมนูอาหาร #รีวิวที่พักร้านอาหารเด็ดๆ